วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

IP Address คืออะไร IP Address

IP Address คืออะไร

IP Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด เช่น 192.168.100.1 หรือ172.16.10.1 เป็นต้นมาตรฐานของ IP Address ปัจจุบันเป็นมาตรฐาน version 4 หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า IPv4 วึ่งกำหนดให้ ipaddress มีทั้งหมด32 bit หรือ 4 byte แต่ล่ะ byte จะถูกคั่นด้วยจุด (.) ภายในหมายเลขที่เราเห็นยังถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้1. Network Address หรือ Subnet Address2. Host Address บนเครื่อง computer ที่ใช้ TCP/IP Protocol จะมีหมายเลข IP Address กำกับอยู่ address นี้ เป็นอยู่ใน Layer3 ของ OSI model ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา (Logical address) และบนเครื่อง computerไม่ว่าจะใช้ Protocol ใด ๆ ก็ตามจะต้องมีหมายเลข ที่เรียกว่า MAC Address ประจำอยุ่ที่ Network card เสมอ MAC Address นี้เป็น Hardware Address ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เว้นแต่จะเปลี่ยน Network cardClass ของแต่ละ IP Addressคำถาม: ทำไมต้องแบ่งเป็น Classต่าง ๆ เพื่ออะไร เพื่อความเป็นระเบียบไงครับ ทางองค์กรกลางที่ดูแลเรื่องของ IP Address จึงได้มีการจัด Class หรือ หมวดหมู่ของ IP Addressไว้ทั้งหมด 5 Class โดย Class ของ Address จะเป็นตัวกำหนดว่า Bit ใดบ้างใน หมายเลข IP Addressที่ต้องถูกใช้เพื่อเป็น Network Address และ Bit ใดบ้าง ที่ต้องถูกใช้เป็น Host Address นอกจากนั้น Class ยังเป็นตัวกำหนดด้วยว่า จำนวนของ Network Segment ที่มีได้ใน Class นั้น ๆ มีเท่าไร และจำนวนของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถมีได้ ภายในNetwork Segment นั้น ๆ มีเท่าไรClass D Class นี้จะไม่ถูกนำมาใช้กำหนดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป แต่จะถูกใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicast ของบาง Application Multicast คือ เป็นการส่งจากเครื่องต้นทางหนึ่งไปยัง กลุ่ม ของเครื่องปลายทางอีกกลุ่มหนึ่ง แต่ไม่ใช่ ทุกเครืองใน Network Segment นั่น ๆวิธีสังเกต ว่า IP Address นี้อยู่ Class อะไร• ถ้า Byte แรก ซ้ายสุดเป็น ตัวเลข 1-126 แสดงว่าเป็นหมายเลข IP Address ที่อยุ่ใน Class A (IP address 127 นั่น จะเป็น Loopback Address ของ Class นี้น่ะครับหรือ ของคอมท่านเอง )• ถ้า Byte แรก ซ้ายสุดเป็น ตัวเลข 128-191 แสดงว่าเป็นหมายเลข IP Address ที่อยุ่ใน Class B• ถ้า Byte แรก ซ้ายสุดเป็น ตัวเลข 192-223 แสดงว่าเป็นหมายเลข IP Address ที่อยุ่ใน Class C• ส่วน 224 ขึ้นไปจะเป็น Multicast Address ที่กล่าวไว้ข้างต้นส่วน IPv6. สามารถตามมาดูข้อมูลได้ที่นี้น่ะครับDownload : IPv6 Pdf file ได้ตรงนี้ครับ (Version ภาษาไทยด้วยน่ะครับ)Reference :http://www.ipv6.nectec.or.th/articles.phphttp://www.ipv6forum.com/

ระบบเครือข่ายเบื้องต้น (Fundamental Computer Networks)

ระบบเครือข่ายเบื้องต้น (Fundamental Computer Networks)

มนุษย์เริ่มรู้จักการสื่อสารข้อมูลมานานแล้ว ตั้งแต่โบราณเรารู้จักใช้จดหมายผูกไปกับนกพิราบสื่อสาร พัฒนามาเป็นการใช้โทรเลข การพูดคุยทางโทรศัพท์ และในที่สุดก็พัฒนาเป็นการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็คือเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนั้นเอง การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันนอกจากจะเพื่อการสื่อสารข้อมูลกันแล้ว ประโยชน์ที่ได้คือการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตามเนื่องจากการสื่อสารข้อมูลดังกล่าวเกี่ยวข้องกับส่วนประกอบหลายส่วนผู้ใช้จำเป็นต้องศึกษาแนวคิด และหลักการต่าง ๆ เพิ่มขึ้นแนวคิดด้านการสื่อสารข้อมูล (Concept of networks layers)ปัญหาของการสื่อสารข้อมูลก็คือทำอย่างไรจะให้อุปกรณ์การสื่อสารต่างๆ สื่อสารกันได้อย่างอัตโนมัติ เนื่องจากมีความแตกต่างกันด้านเครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการสื่อสารแบบต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งจะติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งซึ่งอาจจะอยู่คนละส่วนของโลก โดยมีสื่อกลางคืออุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายที่มาจากผู้ผลิตหลายบริษัท แนวคิดนี้เององค์กรว่าด้วยเครื่องมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Standard Organization-ISO) จึงได้วางมาตรฐานโปรโตคอลไว้เป็นระดับ เพื่อให้การสื่อสารต่างๆ ยึดหลักการนั้นและเรียกมาตรฐานโปรโตคอลนี้ว่า OSI Protocol โดยวางเป็นระดับ 7 ชั้น1.ชั้น Physical เป็นการอธิบายคุณสมบัติทางกายภาพ เช่น คุณสมบัติทางไฟฟ้า และกลไกต่างๆ ของวัสดุที่ใช้เป็นสื่อกลาง ตลอดจนสัญญาณที่ใช้ในการส่งข้อมูล คุณสมบัติที่กำหนดไว้ในชั้นนี้ประกอบด้วยคุณลักษณะทางกายภาพของสาย, อุปกรณ์เชื่อมต่อ (Connector) ระดับความต่างศักย์ของไฟฟ้า (Voltage) และอื่นๆ เช่น อธิบายถึงคุณสมบัติของสาย Unshield Twisted Pair (UTP) เป็นต้น2.ชั้น Data-Link เป็นชั้นที่อธิบายถึงการส่งข้อมูลไปบนสื่อกลาง ชั้นนี้ยังได้ถูกแบ่งออกเป็นชั้นย่อย (Sub-Layer) คือ Logical Link Control (LLC) และ Media Access Control (MAC) การแบ่งแยกเช่นนี้จะทำให้ชั้น LLC ชั้นเดียวสามารถจะใช้ชั้น MAC ที่แตกต่างกันออกไปได้หลายชั้น ชั้น MAC นั้นเป็นการดำเนินการเกี่ยวกับแอดเดรสทางกายภาพอย่างที่ใช้ในมาตรฐานอีเทอร์เน็ตและโทเคนริง แอดเดรสทางกายภาพนี้จะถูกฝังมาในการ์ดเครือข่ายโดยบริษัทผู้ผลิตการ์ดนั้น แอดเดรสทางกายภาพนั้นเป็นคนละอย่างกับแอดเดรสทางตรรกะ เช่น IP Address ที่จะถูกใช้งานในชั้น Network เพื่อความชัดเจนครบถ้วนสมบูรณ์ของการใช้ชั้น Data-Link3.ชั้น Network ในขณะที่ชั้น Data-Link ให้ความสนใจกับแอดเดรสทางกายภาพ แต่การทำงานในชั้น Network จะให้ความสนใจกับแอดเดรสทางตรรกะ การทำงานในชั้นนี้จะเป็นการเชื่อมต่อ และการเลือกเส้นทางนำพาข้อมูลระหว่างเครื่องสองเครื่องในเครือข่ายชั้น Network ยังให้บริการเชื่อมต่อในแบบ "Connection Oriented" อย่างเช่น X.25 หรือบริการแบบ "Connectionless" เช่น Internet Protocol ซึ่งใช้งานโดยชั้น Transport ตัวอย่างของบริการหลักที่ชั้น Network มีให้คือ การเลือกเส้นทางนำพาข้อมูลไปยังปลายทางที่เรียกว่าRouting ตัวอย่างของโปรโตคอลในชั้นนี้ประกอบด้วย Internet Protocol (IP) และ Internet Control Message Protocol (ICMP)4.ชั้นTransport ในชั้นนี้มีบางโปรโตคอลจะให้บริการที่ค่อนข้างคล้ายกับที่มีในชั้น Network โดยมีบริการด้านคุณภาพที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ แต่ในบางโปรโตคอลที่ไม่มีการดูแลเรื่องคุณภาพดังกล่าวจะอาศัยการทำงานในชั้น Transport นี้เพื่อเข้ามาช่วยดูแลเรื่องคุณภาพแทน เหตุผลที่สนับสนุนการใช้งานชั้นนี้ก็คือ ในบางสถานการณ์ของชั้นในระดับล่างทั้งสาม (คือชั้น Physical Data-Link และ Network) ดำเนินการโดยผู้ให้บริการโทรคมนาคม การจะเพิ่มความมั่นใจในคุณภาพให้กับผู้ใช้บริการก็ด้วยการใช้ชั้นTransportนี้ “Transmission Control Protocol (TCP) เป็นโปรโตคอลในชั้น Transport ที่มีการใช้งานกันมากที่สุด5.ชั้น Session ทำหน้าที่สร้างการเชื่อมต่อ การจัดการระหว่างการเชื่อมต่อ และการตัดการเชื่อมต่อคำว่า "เซสชัน" (Session) นั้นหมายถึงการเชื่อมต่อกันในเชิงตรรกะ (Logic) ระหว่างปลายทางทั้งสองด้าน (เครื่อง 2 เครื่อง) ชั้นนี้อาจไม่จำเป็นต้องถูกใช้งานเสมอไปอย่างเช่นถ้าการสื่อสารนั้นเป็นไปในแบบ "Connectionless" ที่ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อ เป็นต้น ระหว่างการสื่อสารในแบบ "Connection-less" ทุกๆ แพ็กเก็ต (Packet) ของข้อมูลจะมีข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องปลายทางที่เป็นผู้รับติดอยู่อย่าง สมบูรณ์ในลักษณะของจดหมายที่มีการจ่าหน้าซองอย่างถูกต้องครบถ้วน ส่วนการสื่อสารในแบบ "Connection Oriented" จะต้องมีการดำเนินการบางอย่างเพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อ หรือเกิดเป็นวงจรในเชิงตรรกะขึ้นมาก่อนที่การรับ/ส่งข้อมูลจะเริ่มต้นขึ้น แล้วเมื่อการรับส่งข้อมูลดำเนินไปจนเสร็จสิ้นก็ต้องมีการดำเนินการบางอย่างเพื่อที่จะตัดการเชื่อมต่อลง ตัวอย่างของการเชื่อมต่อแบบนี้ได้แก่ การใช้โทรศัพท์ที่ต้องมีการกดหมายเลขปลายทาง จากนั้นก็ต้องมีการดำเนินการบางอย่างของระบบจนกระทั่งเครื่องปลายทางมีเสียงดังขึ้น การสื่อสารจะเริ่มขึ้นจริงเมื่อมีการทักทายกันของคู่สนทนา จากนั้นเมื่อคู่สนทนาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งวางหูก็ต้องมีการดำเนินการบางอย่างที่จะตัดการเชื่อมต่อลงชั้น Session นี้มีระบบการติดตามด้วยว่าฝั่งใดที่ส่งข้อมูลซึ่งเรียกว่า "Dialog Management" Simple Mail Transport Protocol (SMTP) File Transfer Protocol (FTP) และ Telnet เป็นตัวอย่างของโปรโตคอลที่นิยมใช้ และมีการทำงานครอบคลุมในชั้น Session Presentation และ Application6.ชั้น Presentation ให้บริการทำการตกลงกันระหว่างสองโปรโตคอลถึงไวยากรณ์ (Syntax) ที่จะใช้ในการรับ/ส่งข้อมูล เนื่องจากว่าไม่มีการรับรองถึงไวยากรณ์ที่จะใช้ร่วมกัน การทำงานในชั้นนี้จึงมีบริการในการแปลข้อมูลตามที่ได้รับการร้องขอด้วย7.ชั้น Application เป็นชั้นบนสุดของแบบจำลอง ISO/OSI เป็นชั้นที่ใช้บริการของชั้น Presentation (และชั้นอื่นๆ ในทางอ้อมด้วย) เพื่อประยุกต์ใช้งานต่างๆ เช่น การรับ-ส่งอีเมล์) การโอนย้ายไฟล์ หรือการประยุกต์ใช้งานทางด้านเครือข่ายอื่นๆ

Windows Server 2003

Windows Server 2003

Windows Server 2003 R2 ได้ขยายขอบเขตของระบบปฏิบัติการ Windows Server 2003 ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม โดยการจัดเตรียมวิธีการที่ประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อรองรับการบริหารและควบคุมการเรียกใช้ทรัพยากรแบบโลคอลและรีโมท แถมยังผสานการทำงานกับสภาพแวดล้อม Windows Server 2003 ที่มีอยู่เดิมได้โดยง่ายอีกด้วย Windows Server 2003 R2 สามารถทำงานเป็นเว็บแพลตฟอร์มที่ขยายระบบได้และมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีกว่าเดิม แถมยังรองรับการทำงานแนวทางใหม่ๆอาทิเช่นการบริหารเซิร์ฟเวอร์ตามสาขาที่ทำได้ง่ายขึ้น ระบบบริหารตัวตนและการเรียกใช้ระบบที่ดีกว่าเดิม รวมทั้งมีระบบบริหารระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพดีขึ้นอีกด้วย บทความที่อยู่ในหน้านี้จะพูดถึงจุดเด่น คุณสมบัติใหม่ๆ และการปรับปรุงต่างๆที่เกิดขึ้นใน Windows Server 2003 R2จุดเด่นต่างๆ Windows Server 2003 R2ได้รับการพัฒนาโดยอิงกับระบบรักษาความปลอดภัย เสถียรภาพ และประสิทธิภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิมของ Windows Server 2003 Service Pack 1 (SP1) ดังนั้น Windows Server 2003 R2 จึงมีระบบเชื่อมต่อที่กว้างขวางยิ่งขึ้น แถมยังควบคุมทรัพยากรแบบโลคอลและรีโมทได้ดีขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย องค์กรต่างๆจะได้ประโยชน์จากค่าใช้จ่ายที่ลดลง และประสิทธิภาพที่เพิ่มสูงขึ้นผ่านทางระบบบริหารและระบบควบคุมทรัพยากรที่ดีขึ้นกว่าเดิมทั่วทั้งองค์กร ช่วยให้การบริหารเซิร์ฟเวอร์สาขาทำได้ง่ายขึ้น Windows Server 2003 R2 ช่วยให้คุณยังคงประสิทธิภาพ ความพร้อมในการให้บริการ และความสามารถในการเพิ่มผลผลิตของเซิร์ฟเวอร์สาขาแบบโลคอลเอาไว้ไปพร้อมๆกับหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโซลูชันเซิร์ฟเวอร์สาขาอาทิเช่น ข้อจำกัดเรื่องการสื่อสาร และความยุ่งยากในการบริหารเป็นต้นระบบบริหารตัวตนและการเรียกใช้ระบบที่ดีขึ้นกว่าเดิม Windows Server 2003 R2 มีบริการ Active Directory Federation Services ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ดูแลระบบแก้ปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหารตัวตนโดยการทำให้องค์กรแลกเปลี่ยนข้อมูลตัวตนของผู้ใช้ได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น ภายในขอบเขตการรักษาความปลอดภัยที่กำหนดเอาไว้ นอกจากนั้น Windows Server 2003 R2 ยังเตรียมระบบปรับความสอดคล้องรหัสผ่านของยูนิกซ์ ซึ่งเป็นการผสานการทำงานของเซิร์ฟเวอร์ที่ Windows และยูนิกซ์เข้าด้วยกัน โดยการทำให้ขั้นตอนการดูแลรหัสผ่านทำได้ง่ายขึ้นลดค่าใช้จ่ายในการบริหารระบบจัดเก็บข้อมูล Windows Server 2003 R2 มีเครื่องมือรุ่นใหม่ๆที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้เรียกดูระบบจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดที่ศูนย์กลางได้ สามารถวางแผน จัดสรร และดูแลระบบจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายขึ้น รวมทั้งมีระบบเฝ้าระวังและทำรายงานที่ดีขึ้นกว่าเดิมอีกด้วยเว็บแพลตฟอร์มที่สมบูรณ์แบบ Windows Server 2003 R2 ช่วยให้ธุรกิจต่างๆขยายขอบเขตการทำงานของโครงสร้างพื้นฐานของตนเองผ่านทางเว็บ พร้อมกับลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและบริหารผ่านทางการทำงานของ Windows Server 2003 SP1, x64 Editions, Windows SharePoint Services, .NET Framework 2.0 และ Internet Information Servers 6.0 ที่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิมระบบเซิร์ฟเวอร์เวอร์ชวลไลเซชันที่คุ้มค่า Windows Server 2003 R2 Enterprise Editioin (EE) จะช่วยให้คุณสั่งงาน Windows Server 2003 R2 EE แบบเวอร์ชวลได้ถึง 4 ชุดในเซิร์ฟเวอร์จริงหรือฮาร์ดแวร์พาร์ทิชันเพียงชุดเดียว ด้วยเหตุนี้ค่าใช้จ่ายของเซิร์ฟเวอร์เวอร์ชวลไลเซชันจะลดลง